หลายปีมานี้คุณอาจจะเคยได้ยินเรื่องของน้ำยาแอร์ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และมีอันตรายต่อมนุษย์เมื่อสูดดมเข้าไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่าน้ำยาแอร์ในสมัยใหม่ก่อให้เกิดผลเสียเหล่านั้นน้อยลงแล้วในปัจจุบัน
น้ำยาแอร์ เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเย็นของระบบทำความเย็น ซึ่งแบ่งเป็นหลายประเภทตามขนาดการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับเครื่องทำความเย็น โดยในอดีตนั้นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นมีความคงตัวสูงและมีประสิทธิภาพต่ออุปกรณ์ทำความเย็นค่อนข้างสูง แต่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม และผู้ที่สูดดมน้ำยาแอร์เมื่อเกิดการรั่วไหล ด้วยสารประกอบที่เป็นพิษหลายชนิดที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นเสื่อมสภาพได้ง่าย
บทความนี้จะช่วยให้คุณได้เข้าใจการเลือกใช้น้ำยาแอร์ที่เหมาะสมกับเครื่องทำความเย็นของคุณมากขึ้น รวมถึงตระหนักถึงการใช้น้ำยาแอร์รุ่นเดิมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วย
น้ำยาแอร์ กับระบบทำความเย็น
ระบบทำความเย็นสร้างความเย็นและดูดความร้อนได้ด้วยน้ำยาแอร์ ซึ่งเป็นตัวกลางที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำให้เกิดความเย็นได้ ด้วยการเดินทางไปตามอุปกรณ์ทำความเย็นและเปลี่ยนสภาพเป็นทั้งของเหลวและก๊าซเพื่อให้กระบวนการทำความเย็นนั้นมีประสิทธิภาพ ด้วยการทำงานที่ต้องเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดการทำงานของเครื่องทำความเย็น น้ำยาแอร์จึงต้องมีเสถียรภาพในการเปลี่ยนสถานะและไม่กัดกร่อนอุปกรณ์ทำความเย็นอื่นๆ ภายใน Condensing Unit
น้ำยาแอร์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ดูดเอาความร้อนในพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น เข้าสู่อุปกรณ์ทำความเย็น และอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำการควบคุมสารทำความเย็นโดยเริ่มจาก วาว์ลลดความดันที่ฉีดน้ำยาแอร์ไปยังอีวาโปเรเตอร์ เพื่อดูดความร้อนจากพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น เมื่อน้ำยาแอร์ได้รับความร้อนจะเดือดจนกลายเป็นไอที่ความดันต่ำ
จากนั้นจะถูกส่งไปยังคอมเพรสเซอร์เพื่ออัดความดันให้สูงขึ้น ก่อนจะถูกส่งไปยังคอนเดนเซอร์เพื่อระบายความร้อนและทำให้น้ำยาแอร์กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง และกลับไปสู่วาว์ลลดความดันเพื่อลดความดันให้น้ำยาแอร์กลับสู่สภาพพร้อมใช้งานอีกครั้ง
น้ำยาแอร์เกี่ยวข้องกับโลกร้อนได้อย่างไร
ภาวะโลกร้อนเกิดจากการปล่อยก๊าซต่างๆ ขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศไปขัดขวาง และทำลายการทำงานของโอโซนที่มีหน้าที่ป้องกันความร้อนจากรังสีจากดวงอาทิตย์ โดยสารประกอบที่ชื่อว่า สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) หรือฟรีออน (Freon) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติแต่เกิดจากการสร้างขึ้นของมนุษย์ ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์เครื่องใช้ รวมถึงน้ำยาแอร์ด้วย
ปรากฏการณ์โลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก
1. ชั้นบรรยากาศของโลกหรือชั้นโอโซนถูกทำลาย ทำให้รังสีคลื่นสั้น เช่น ยูวีจากดวงอาทิตย์ทะลุเข้าสู่พื้นผิวโลกโดยตรง
2. การเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกจนปกคลุมชั้นบรรยกาศของโลก ทำให้การคายรังสีคลื่นยาวของโลกไม่สามารถหลุดออกนอกชั้นบรรยากาศได้ ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น
สารทำความเย็นหลายชนิดเป็นตัวการที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจากการประเมินของค่าดังนี้
1. ค่าของ ODP (Ozone Depletion Potential) เป็นตัวเลขของระดับในการทำลายโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ของชั้นบรรยากาศ ที่มาจากสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ชนิดต่างๆ โดยใช้ค่าของน้ำยาแอร์ R-11 เป็นมาตรฐาน สารเคมีสังเคราะห์กลุ่มฮาโลคาร์บอนที่มีคลอรีน หรือโบรมีนเป็นองค์ประกอบ ที่เมื่อแตกตัวแล้วจะมีศักยภาพในการทำลายโอโซนได้
2. ค่าของ GWP (Global Warming Potential) เป็นค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในช่วงระยะเวลา 100 ปี โดยคิดจากการแผ่รังสีของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก
โดยสารทำความเย็นที่ดีควรมีค่า ODP เป็นศูนย์ และค่า GWP ที่ต่ำ ดังตารางที่แสดงด้านล่างนี้
จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าสารประเภท CFC และ HCFC จะมีค่า OPD และ GWP ที่สูงกว่าสารประเภทอื่น ทำให้น้ำยาแอร์ที่มีสาร CFC ถูกยกเลิกการผลิตไปแล้ว ส่วนน้ำยาแอร์จากสารธรรมชาติจำพวก ไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนไดออกไซด์ แม้ว่าจะมีค่า OPD และ GWP ที่ต่ำกว่า แต่ยังมีข้อด้อยในเรื่องของสมรรถนะและความปลอดภัยบางอย่าง ทำให้การนำน้ำยาแอร์สูตรใหม่มาใช้กับระบบทำความเย็นนั้นต้องพิจารณาจากระบบการทำงานให้ดี หรือต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ที่รองรับการทำงาน
น้ำยาแอร์แบบไหนที่ไม่เป็นอันตราย
น้ำยาแอร์ต้องมีความปลอดภัยสำหรับการใช้งานเพื่อทำความเย็น ตลอดจนไม่ทำอุปกรณ์ที่ทำความเย็นเสื่อมสภาพได้ง่าย ซึ่งก่อนการเลือกใช้งานต้องประเมินความเสี่ยง เช่น ความเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ลักษณะการติดไฟ หรือความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์เอง นอกจากนี้สารทำความเย็นแต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ทำความเย็นที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งการเลือกน้ำยาแอร์ที่เหมาะสมควรมีลักษณะสำคัญดังนี้
- ทำงานเข้ากันได้ดีกับน้ำมันเครื่อง
- มีความคงตัวทั้งอุณหภูมิและสารประกอบทางเคมี
- อุณหภูมิจุดเดือดต่ำ
- ความดันในการกลายเป็นไอสูงกว่าความดันบรรยากาศ
- มีดันควบแน่นปานกลาง
- ปริมาตรจำเพาะเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซค่อนข้างต่ำ
สรุป
แม้ปัจจุบันจะมีการเลิกผลิตและจำหน่ายน้ำยาแอร์ที่มีสารก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนไปแล้วบางส่วน และมีการจำกัดการใช้งานสารที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยลงถึง 40% แล้วเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน แต่ปริมาณของ CFC ยังคงสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อนในอีกระยะยาว
การเลือกสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ในปัจจุบันควรตระหนักถึงการส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและชั้นบรรยากาศของโลก ด้วยการเลือกน้ำยาแอร์สำหรับเครื่องทำความเย็นที่มีมาตรฐาน ผ่านการรองรับว่าไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติและสุขภาพของผู้ใช้งานด้วย ถ้าคุณกำลังมองหาน้ำยาแอร์ที่เหมาะสำหรับระบบทำความเย็นของคุณ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ เราพร้อมที่จะให้คำปรึกษากับคุณอย่างเต็มที่
ติดตาม Harn Engineering Solutions
เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์