เพลิงไหม้ในอาคารเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ก็อาจก่อให้เกิดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และระบบดับเพลิงในอาคารจึงเป็นอีกระบบสำคัญ ที่จะช่วยลดการเกิดความเสียหายได้ วันนี้ HARN ขอนำเสนอ 10 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบดับเพลิงภายในอาคาร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความปลอดภัยภายในอาคารครับ
1. ไทยมี กฎหมายเกี่ยวกับระบบดับเพลิง ได้แก่ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฏกระทรวงฉบับที่ 33 ในหมวดที่ 2 โดยสาระสำคัญอยู่ที่เรื่องระบบป้องกันเพลิงไหม้ ให้ทุกชั้นของอาคารมีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบระบายอากาศ ระบบตรวจจับควันไฟ ที่ทำงานร่วมกันเป็นระบบอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
2. อุปกรณ์ดับเพลิงมีทั้งแบบที่ใช้งานโดยคนเป็นผู้สั่งการ (Manual Operate) เช่นถังดับเพลิง สายฉีดน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งอยู่ในตู้ดับเพลิง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้ว ผู้อาศัยหรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอาคาร สามารถหยิบมาใช้ควบคุมเพลิงได้
3. อุปกรณ์ดับเพลิงระบบอัตโนมัติ (Automatic Operate) เช่น ระบบกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) ซึ่งจะทำงานเมื่อสปริงเกอร์ ได้รับความร้อนตามอุณหภูมิที่กำหนดไว้ โดยมีระบบที่สำคัญดังนี้
4. ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ซึ่งทำงานเหมือนเป็นการรับรู้ของร่างกายคนเราเมื่อถูกความร้อนจากเปลวไฟสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ โดยจะติดตั้งไว้ตามห้องต่างๆ
5. อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) อุปกรณ์นี้จะเหมือนจมูก ที่เมื่อได้รับกลิ่นควันไฟแล้วจะทำงานทันที โดยหลักการทำงานคือ เมื่อเกิดไฟลุกไหม้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงในอาคารจะเกิดเป็นควันที่เกิดจากการสันดาปที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ความชื้น สารพิษ และสิ่งสกปรก ซึ่งเป็นอันตรายกับดวงตาและระบบหายใจเมื่อสูดดมเข้าไปเป็นจำนวนมาก
6. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อุปกรณ์นี้จะเป็นเหมือนดวงตา ซึ่งหลักการทำงานคือ การตรวจจับรังสีอินฟราเรดและรังสีอุลตราไวโอเลตที่เกิดจากเปลวไฟ ซึ่งจะทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำเมื่อเกิดการระเบิดขึ้นของอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า หรือการลุกไหม้ของไฟที่รวดเร็วและไม่มีควันไฟ
7. อุปกรณ์เตือนภัย เปรียบเสมือนกับการที่เราร้องตะโกนให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารว่ากำลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่อยู่ในอาคารนั้นหนีออกมาให้เร็วที่สุด ซึ่งแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบใช้เสียง แบบใช้แสง และแบบใช้ทั้งเสียงและแสง
8. เมื่อ อุปกรณ์ตรวจจับทำงาน และส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม เพื่อส่งสัญญานแจ้งเตือนภัยด้วยเสียงหรือแสงสำหรับอพยพ เมื่อเกิดความร้อนถึงจุดการทำงานของ Sprinkler ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) จะเริ่มทำงาน
9. ระบบดับเพลิงอัตโนมัติชนิดสารสะอาด (Fire Suppression System) สำหรับห้อง Data Center หรือ ห้อง Server เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากระบบดับเพลิงต้องพร้อมทำงานรวดเร็วทันทีเมื่อเกิดเหตุ เพราะอุปกรณ์ที่อยู่ภายในห้อง DataCenter หรือ ห้อง Server จะถูกทำลายอย่างรุนแรงเช่น สาย Fiber , สาย Cable สื่อสาร , อุปกรณ์สื่อสาร (Switch, Server ) เป็นต้น ทั้งนี้ระบบดับเพลิงอัตโนมัติชนิดสารสะอาดมีหลากหลาย เช่น ระบบไนโตรเจน N2, NOVEC, FM200, CO2 และ VESDA เป็นต้น จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการเลือกใช้ระบบดับเพลิงให้เหมาะสมกับขนาด และพื้นที่ในการติดตั้ง
10. ระบบดับเพลิงและการป้องกันอัคคีภัยของอาคาร เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารถึงความปลอดภัยที่พวกเขาควรได้รับเมื่ออาศัยอยู่ในอาคาร โดยนอกจากการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงแล้ว คนที่อาศัยอยู่ในอาคารควรใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้ รวมถึงวิธีการหลบหนีไปยังบริเวณที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อย่างถูกต้อง
เมื่อคุณอ่านบทความนี้จบอาจจะช่วยให้คุณมองไปที่รอบๆ อาคารที่คุณพักอาศัยอยู่นั้นมีความปลอดภัยมากแค่ไหน
ติดตาม Harn Engineering Solutions
เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์