เห็ดเข็มทองที่ดีจะต้องมีลักษณะโตเป็นพุ่มสวย ดอกเห็ดสูงเสมอกันทั้งช่อ ซึ่งโดยปกติแล้วเห็ดเข็มทองจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะอากาศหนาวเย็น แต่ในประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้นจึงไม่สามารถปลูกในสภาพแวดล้อมปกติได้ จึงต้องปลูกในโรงเพาะเห็ดเข็มทองที่มีการควบคุมสภาพอากาศให้เย็นอยู่ตลอดเวลา
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทำความเย็นของ Harn ได้รับโจทย์จากลูกค้า ให้ออกแบบโรงเพาะเห็ดเข็มทองที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยต้องการโรงเพาะเห็ดเข็มทองที่มีการควบคุมอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่รวดเร็วและมีคุณภาพดี
โจทย์ที่ได้รับคือการออกแบบระบบทำความเย็น 2 แบบ คือ
- ห้องเพาะเชื้อ
เป็นขนาดเล็กใช้สำหรับการเพาะเชื้อเห็ดเข็มทอง ที่ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ 18 องศาเซลเซียส โดยสภาพอากาศนิ่ง และไม่มีลมพัดภายในห้อง เพื่อไม่ให้เชื้อเห็ดฟุ้งกระจายและป้องกันเชื้อราหรือเชื้อแปลกปลอมปะปนฟุ้งกระจายในห้องเพาะเชื้อ
- โรงเพาะเห็ดเข็มทอง
เป็นโรงเพาะที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ติดตั้งระบบปรับอากาศที่สามารถเปลี่ยนแปลงความเย็นได้ตามที่ต้องการ และเป็นไปตามภาระโหลดความร้อน โดยในขณะอนุบาลเห็ดเข็มทองอยู่ อุณหภูมิภายในห้องจะควบคุมไว้ที่อุณหภูมิหนึ่ง หลังจากเห็ดเข็มทองโตขึ้นเพื่อเพาะเลี้ยงอุณหภูมิห้องจะเปลี่ยนไปใช้อีกอุณหภูมิหนึ่ง และห้องนี้จะต้องมีระบบหมุนเวียนอากาศให้ถ่ายเทอยู่ตลอด
โจทย์ที่ 1 : ออกแบบห้องเพาะที่ควบคุมอุณภูมิคงที่และไม่มีลม
การออกแบบงานที่ท้าทาย เพื่อตอบความต้องการของลูกค้า
หลักการออกแบบห้องเพาะเชื้อ ทาง Harn ใช้การออกแบบระบบทำความเย็นเลียนแบบตู้เย็นแบบ ‘ประตูบานเดียว’ ถ้าเราสังเกตตู้เย็นแบบประตูบานเดียว จะพบว่าภายในตู้เย็นนี้ไม่มีพัดลมเป่าเพื่อทำความเย็น แต่จะใช้หลักการวิ่งของสารทำความเย็นผ่านแผ่น Plate ทำความเย็นที่อยู่ด้านบนของตู้
เมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านแผ่น Plate จะเริ่มเย็นตัวและปล่อยความเย็นออกมา ซึ่งตามธรรมชาติของอากาศ ความเย็นจะตกลงสู่ด้านล่างของตู้เย็นและความร้อนจากด้านล่างจะถูกดันตัวขึ้นสู่ด้านบนอย่างช้าๆ โดยกระบวนการนี้เรียกว่า Natural Convection เพื่อปรับอากาศให้ภายในตู้มีความเย็นอย่างทั่วถึง
Natural Convection เป็นกระบวนการปล่อยให้อากาศทำงานเองตามธรรมชาติ โดยอากาศที่เย็นจะเคลื่อนที่ไปหาอากาศที่ร้อน ภายในพื้นที่ที่ถูกจำกัดจนอากาศภายในห้องมีความเย็นที่สม่ำเสมอ
ระบบทำความเย็นที่ Harn ออกแบบ จะมีคอยล์เย็นติดอยู่บนเพดานหลายจุดกระจายตัวสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถทำความเย็นได้ทั่วถึง เมื่อเปิดเครื่องทำความเย็นแล้ว ความเย็นภายในห้องเพาะเชื้อจะเย็นลงอย่างช้าๆ จนภายในห้องมีอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส โดยในระหว่างการทำความเย็นภายในห้องแทบจะไม่มีลมเกิดขึ้นเลยตามความต้องการของลูกค้า
ความท้าทายจากการติดตั้งคอยล์เย็น
เนื่องจากการออกแบบจะต้องติดตั้งคอยล์เย็นบนเพดานหลายจุด ดังนั้นการเชื่อมระบบท่อสารทำความเย็นจะต้องมีการวางแผนเทคนิคการติดตั้งมาอย่างดี เพื่อให้สารทำความเย็นสามารถวิ่งไปถึงคอยล์เย็นทุกตัวอย่างทั่วถึง ให้ปล่อยความเย็นออกมาได้อย่างสม่ำเสมอกัน ซึ่งถ้าคอยล์เย็นปล่อยความเย็นออกมาได้ไม่สม่ำเสมอกันจะทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในห้องเพาะเชื้อได้
แม้จะมีหลักการทำความเย็นที่ไม่มีลมพัดภายในตัว แต่ก็ส่งผลให้ระบบทำความเย็นดังกล่าว ทำให้ห้องเย็นช้า เนื่องจากไม่มีพัดลมที่ช่วยในการเป่าความเย็น แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการเปิดเครื่องทำความเย็นทิ้งเอาไว้ก่อนที่จะเริ่มงานอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้ห้องทำความเย็นได้ทั่วถึง
การออกแบบคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุนของลูกค้า
- เลือกอุปกรณ์ทำความเย็นที่จำเป็น และจำนวนเหมาะสมกับพื้นที่
- คำนวณปริมาณของคอยล์เย็นให้สัมพันธ์กับพื้นที่ทำความเย็นมากที่สุด ซึ่งถ้าลดปริมาณคอยล์เย็นลงไปเครื่องทำความเย็นจะทำงานหนักขึ้น จะส่งผลให้มีน้ำแข็งเกาะที่คอยล์เย็นบ่อย ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายของการเปิดฮีตเตอร์ในการละลายน้ำแข็ง
- การเลือกคอยล์เย็นที่เหมาะสมกับการทำความเย็น ซึ่งถ้าอุณหภูมิต่ำลงเพียง 1 องศา ก็กินค่าไฟมากขึ้นถึง 3%
- ออกแบบวิธีการติดตั้งท่อน้ำยาให้ทั่วถึงคอยล์เย็นทุกตัว เพราะถ้าอากาศภายในห้องไม่เย็นสม่ำเสมอจะทำให้ตัวเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ (Termostat) จะอ่านค่าอุณภูมิไม่ถูกต้อง ทำให้คอมเพลสเซอร์ไม่ตัดหรือไม่หยุดทำงานซึ่งส่งผลให้สิ้นเปลืองค่าไฟมากขึ้น
Harn ให้บริการลูกค้าอย่างรวดเร็ว
ทีมงานใช้เวลาในการติดตั้งระบบทำความเย็นเพียงไม่เกิน 1 สัปดาห์เท่านั้น หลังจากรับโจทย์จากลูกค้า และผู้เชี่ยวชาญของ HARN ออกแบบเสร็จและ Approve ทั้งหมด
ซึ่ง Harn มีโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกคอยล์เย็น เพื่อช่วยเลือกขนาดของคอยล์เย็นที่เหมาะสมกับขนาดห้อง และคำนวณจำนวนคอยล์เย็นที่ต้องนำไปติดตั้งได้อย่างเหมาะสม
เมื่อได้ค่าทำความเย็นและคำนวณค่าความสามารถในการกระจายทำความเย็นจากโปรแกรมแล้ว ทางทีมผู้เชี่ยวชาญจะนำไปวางแผนการติดตั้งท่อส่งสารทำความเย็นให้ทั่วถึงคอยล์เย็นทุกตัว
โจทย์ที่ 2 : ระบบทำความเย็นของโรงเพาะเห็ดและสามารถระบายอากาศได้ดี
เมื่อเห็ดผ่านการเพาะเชื้อมาแล้ว จะถูกนำไปอนุบาลในโรงเพาะเห็ดที่ควบคุมอุณหภูมิเป็นเวลา 1-2 เดือน เพื่อให้เห็ดโตขึ้น เมื่อเห็ดเข็มทองโตแล้วจะมีการปล่อยความร้อนจากกระบวนการสร้างอาหารมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะโหลดการทำความเย็นมากขึ้น ซึ่งต้องรักษาอุณภูมิในห้องให้คงตัวตลอดเวลา
ควบคุมอากาศเพื่อให้เห็ดเข็มทองโตเป็นพุ่มสวยงาม
เห็ดเข็มทองจะเจริญเติบโตได้สวยงาม จะต้องมีการหมุนเวียนอากาศในห้องที่ดี โดยแผงพัดลมมีรางวิ่งไปกลับเพื่อช่วยในการหมุนเวียนภายในห้อง ซึ่งห้องจะต้องมีช่องถ่ายเทอากาศ จะทำให้เห็ดเติบโตขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอกัน
เสริมอุปกรณ์ควบคุมให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพ
นอกจากการวางแผนระบบความเย็นแล้วทาง Harn ยังมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ทำความเย็นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
QKL หรือ Defrost on Demand อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ มีระบบบริหารจัดการความเย็นในคอยล์ เช่น การบริการจัดการพัดลม (Fan Management) การใช้ความเย็นแฝงในคอยล์เย็น (Latent Heat) และการบริหารจัดการอื่นๆ
Inverter ช่วยให้ควบคุมอุณหภูมิได้อย่างคงที่ เนื่องจากในขณะที่เห็ดมีการเจริญเติบโตจะมีการคายความร้อนที่ไม่คงตัวออกมา ทำให้อุณหภูมิในห้องนี้มีความไม่คงตัว เมื่อ Inverter ตรวจพบความไม่คงตัวของอุณหภูมิจะทำการปรับความเย็นในห้องให้สมดุล ช่วยให้คอมเพลสเซอร์ไม่มีการโหลดความร้อนมากเกินไป
สรุปบทความ
บริการของ Harn ที่ช่วยในการออกแบบระบบทำความเย็นสำหรับห้องเย็น ตามความต้องการขายลูกค้าให้คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด ช่วยในการเทรนนิ่งผู้รับเหมาให้สามารถติดตั้งระบบงานได้อย่างถูกต้อง และยังมีบริการหลังการขายสำหรับตัวเครื่องทำความเย็นให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ
การวางแผนระบบทำความเย็นจาก Harn ช่วยให้ลูกค้ามีต้นทุนในการผลิตต่ำ ติดตั้งไปแล้วคุ้มค่า ช่วยประหยัดพลังงาน ระบบทำความเย็นช่วยลดระยะเวลาในการปลูกให้ลดลง ได้เห็ดเข็มทองที่มีพุ่มสวยงาม ช่วยให้ได้กำไรจากผลผลิตมากขึ้น
สนใจบริการออกแบบติดตั้งระบบทำความเย็น ปรึกษาเราได้ที่นี่ ทาง Harn มีผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนระบบทำความเย็นให้ตอบโจทย์ความต้องลูกค้า และคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด
ติดตาม Harn Engineering Solutions
เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์