Harn 3D Printing: 3 มิติของการบริการสังคม
กว่า 4 ปีแล้ว ที่บริษัท หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้บริการสังคมผ่านธุรกิจระบบการพิมพ์ดิจิทัล โดยในปี 2559 ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดร้านพิมพ์ 3 มิติ ที่ตึก 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมุ่งหวังให้นิสิต นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาทั้งอาจารย์ นักวิจัย ได้ใช้บริการพิมพ์งาน 3 มิติในราคาย่อมเยา โดยเริ่มต้นที่กรัมละ 10 บาทเท่านั้น
ภายใต้แนวคิดการทำธุรกิจเพื่อสังคมของ Harn Engineering Solutions PCL. ได้ออกแบบให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม 3D ด้วยหลัก 3E ได้แก่ Education Experience และ Expertise
Education: เรียนรู้เทคโนโลยี 3 มิติผ่านนวัตกรรมการพิมพ์
นวัตกรรมการพิมพ์ 3 มิติ ถือเป็นสิ่งที่ยังไม่แพร่หลายมากนักในช่วงแรก ดังนั้นการทำให้นิสิตนักศึกษา และบุคลากรทางด้านการศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมนี้จึงเป็นสิ่งที่ Harn คิดว่าควรทำเป็นสิ่งที่ต้องทำในช่วงแรก โดย Harn ได้มีการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการพิมพ์ 3 มิติ หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ workshop ตามมหาวิทยาลัย การบรรยายจากบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือการเปิดให้คำปรึกษาที่หน้าร้านพิมพ์ 3 มิติ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการพิมพ์ 3 มิติ และเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ให้แพร่หลาย
“เราจัดเวิร์คช็อปหลายครั้ง อธิบายเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องพิมพ์ และมีน้องๆ แวะเวียนเข้ามารับคำปรึกษา ซึ่งพวกเรายินดีมาก ๆ บอกน้อง ๆ เสมอว่า แม้ยังไม่ได้พิมพ์ตอนนี้ก็เข้ามาพูดคุยปรึกษาก่อนได้ เพราะเราเข้าใจว่าน้อง ๆ บางคนยังไม่รู้แนวทางการทำงานของเครื่อง เมื่อเขาได้เข้ามาพูดคุยก็จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการออกแบบโปรเจ็คของเขา”
นฤมล เข็มพล (ปุ้ม) และ ธัญชนก เกียรติกำพล (พิงค์) เป็นบุคคลสำคัญที่ให้ความรู้ในด้านการพิมพ์ 3 มิติและเครื่องพิมพ์ 3 มิติแก่นิสิต นักศึกษา และกลุ่มคนที่แวะเวียนมาไถ่ถามที่ร้าน และยังมุ่งมั่นออกบูธ จัดกิจกรรมให้ความรู้อยู่เสมอๆ พวกเธอจะต้อนรับผู้คนที่เข้ามาในร้านด้วยความยินดี เป็นพี่ๆ ของน้องๆ นิสิตนักศึกษา และเป็นเพื่อนคู่คิดให้กับบุคลากรที่ต้องการคำแนะนำการวิธีการออกแบบ เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติรูปแบบต่างๆ
Experience: เปิดประสบการณ์การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติในราคาย่อมเยา
ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติจัดว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ราคาสูง ในระยะแรก Harn จึงร่วมสนับสนุนโครงการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เปิดโอกาสให้นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เข้ามาปริ๊นซ์งาน 3 มิติด้วยโควตาของนิสิต คนละไม่เกิน 50 กรัม เพื่อให้นิสิตได้รู้จักการวางแผนการออกแบบ วางแผนการใช้งบประมาณ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีร่วมสมัย
สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย รวมถึงอาจารย์ นักวิจัย และผู้อยู่ในรั้วสถาบันการศึกษาที่เพียงยื่นบัตรแสดงตนก็สามารถปริ้นท์งาน 3 มิติได้ในราคาเริ่มต้นกรัมละ 10 บาทเท่านั้น โดยราคานี้ยังคงให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ Harn อยากให้ประสบการณ์นี้เกิดขึ้นกับคนในวงกว้างยิ่งขึ้น
“เราอยากให้เข้ามาดู และสอบถามข้อมูลได้ตลอด เพราะน้องบางคนบางทียังไม่มีไอเดียก็มาดูของรุ่นพี่หรืองานที่โชว์ในร้านไปก่อน บางคนก็มาดูแล้วคิดเชื่อมโยงออกแบบงานตัวเองได้ เราก็เลยอยากให้เข้ามาคุย สอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ เรายินดีมากค่ะ” ปุ้มและพิงค์บอกเล่าถึงการเสริมประสบการณ์ให้น้องๆ หลากหลายรูปแบบทั้งการกระตุ้นไอเดีย และการออกแบบและพิมพ์เพื่อใช้งานจริง
เมื่อมีความคุ้นเคยความคิดสร้างสรรค์ก็ตามมา นิสิตนักศึกษาได้ทดลองใช้ในโปรเจ็คการทำงานได้อย่างดีแล้ว จึงมีบางกลุ่มเกิดการคิดต่อยอดไปออกแบบของที่ระลึก “ชิ้นเดียวในโลก” เพื่อสร้างความหมายของการส่งมอบ
“การพิมพ์ 3 มิติ เราพิมพ์ได้ทีละไม่กี่ชิ้น ของที่ปริ๊นซ์ออกมาก็อาจจะเป็นของที่ระลึกที่แทนใจเพียงชิ้นเดียวค่ะ ที่ผ่านมามีมาทำหลายชิ้นที่น่าประทับใจ ในวาระต่างๆ เช่น ของขวัญวาเลนไทน์ ของขวัญรับปริญญา ทำเครื่องประดับ น้องๆ หลายคนคิดเก่งแล้วก็คิดต่อยอดได้เยอะเลยค่ะ”
Expertise: ผู้เชี่ยวชาญให้บริการปรึกษานอกห้องเรียน
“น้องคะงานออกแบบที่ส่งมาด้านซ้ายจะบางมากอาจทำให้ขาดได้”
“น้องคะงานนี้พิมพ์ด้วยเรซินน่าจะเหมาะกว่าการพิมพ์แบบ ABS”
“พี่คะถ้าขยับตรงนี้หน่อยจะทำให้อวัยวะดูสมจริงมากขึ้นนะคะ”
ฯลฯ
ก่อนสั่งพิมพ์งานเรายังใช้โปรแกรม Materialise Magics ตรวจสอบปรับแก้ไฟล์ STL (Standard Triangle Language) เพื่อให้มีความสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้พิมพ์งานออกมาได้ดี ในแต่ละวันจะมีนิสิตคณะต่างๆ แวะเวียนเข้ามาชมผลงาน ส่งแบบให้ดู และเข้ามาปรึกษาแนวทางการออกแบบเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ดีที่สุด ทั้งจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ฯลฯ รวมถึงคณาจารย์ที่ต้องการผลิตสื่อการสอนเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การปริ้นท์งาน 3 มิติอวัยวะในร่างกายมนุษย์ และ อวัยวะเฉพาะส่วนของสัตว์ รวมถึงนักวิจัยที่ต้องการหาคำตอบและสร้างนวัตกรรมต่างๆ เครื่องพิมพ์ 3 มิติมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการนำเสนอที่ทำให้เห็นภาพเชิงรูปธรรมได้มาก
ปุ้มและพิงค์เป็นพนักงานหน้าร้านของ Harn ที่ทำหน้าที่เหมือน “ที่ปรึกษานอกห้องเรียน” ด้านการพิมพ์ 3 มิติ เพราะจะคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่การออกแบบ การขึ้นรูป เทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้ชิ้นงาน 3D Printing ออกมาได้สมบูรณ์แบบที่สุด รวมถึงการตรวจสอบความผิดปกติของผิวชิ้นงานของลูกค้าก่อนพิมพ์ เพราะแต่ละงานมีคุณค่าในตัวเอง เป็นผลงานชิ้นเดียว เป็นผลงานสำคัญเพื่อใช้ประกอบการเรียน เป็นชิ้นงานสำหรับจบการศึกษา หรือเป็นชิ้นงานประกอบการสอนที่ต้องมีความแม่นยำ ดังนั้นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในการพิมพ์จึงพลาดไม่ได้ “ที่ปรึกษานอกห้องเรียน” จึงมีส่วนช่วยให้คำแนะนำให้ได้ชิ้นงานที่ดีที่สุด
ในปี 2563 นี้ ครบรอบ 4 ปีที่ Harn ได้บริการสังคมผ่านธุรกิจระบบการพิมพ์ดิจิทัล และยังคงเจตนารมย์เดิมด้วย 3E : Education Experience และ Expertise จึงได้เปิดช่องทางให้กว้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี เพื่อให้ความสะดวกกับนิสิต นักศึกษา หรือบุคลากรหลากหลายพื้นที่ โดยผู้สนใจสามารถเข้าไปติดต่อสอบถาม ได้ที่ https://web.facebook.com/harn3dmed/ อีเมลharn3dmed@harn.co.th โทรศัพท์ 06-1419-7218 โดยจะมีบริการจัดส่งแบบผ่านทางอีเมลและรับชิ้นงานผ่านทางขนส่งหลากหลายรูปแบบ หรือหน่วยงานใดต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญไปบรรยายพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ สามารถติดต่อมาได้ เพราะเราชื่อว่า ธุรกิจที่ดีจะไปพร้อมกับสังคมที่น่าอยู่เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินไปพร้อมกัน
ติดตาม Harn Engineering Solutions
เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์