เมื่อพูดถึง Green Building ประเทศไทยรู้จักและคุ้นหูกับอาคารที่ใช้แนวคิดนี้มาระยะหนึ่งแล้ว เพราะหลายตึก หลายสำนักงาน ในประเทศ ได้ก่อร่างสร้างอาคารด้วยแนวคิด Green หรือ Eco กันมาก็จำนวนไม่น้อย ซึ่งหากถามว่า Green Building คืออะไร คำตอบหลักๆ ตามความเข้าใจของผู้คนส่วนใหญ่ ต่อคำถามนี้ ก็น่าจะเป็น “อาคารประหยัดพลังงาน ซึ่งคำนึงถึงการใช้และผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสำคัญ”
ทว่า เมื่อ บริษัท หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) มีโปรเจกต์ใหญ่ในการย้ายจากบ้านปัจจุบันสู่บ้านหลังใหม่ ทางบริษัทจึงเล็งเห็นทิศทางและแนวโน้มแห่งอนาคตในการสร้างความยั่งยืนให้กับพนักงาน บริษัท ผู้คน สังคม สิ่งแวดล้อม และโลกในวันข้างหน้า จึงก่อเกิดความคิดในการสร้างอาคาร ด้วยคอนเซปต์ Green Building โดยเลือกใช้มาตรฐานการรับรองที่เข้มข้นและแตกต่างจากมาตรฐานอื่นๆ คือ มาตรฐาน DGNB (Deutsche Gesellschaft für Nachhaltiges Bauen) จากสภาอาคารยั่งยืนของเยอรมัน (German Sustainable Building Council)
ดร.อัจฉราวรรณ จุฑารัตน์ สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ของ บริษัท หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า Green Building คือแนวคิดอาคารที่ไม่กระทบกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของการใช้วัสดุ การก่อสร้าง ไปจนถึงการดำเนินงาน “แต่สำหรับ HARN นั้น เรียกว่า ‘Beyond Eco’ คือการคำนึงเรื่องของ “Better Workplace, Better Wellbeing” อยู่สบาย คืออยู่อย่างไรให้สุขภาพจิตดี สุขภาพใจดี สุขภาพกายดี ต้องบาลานซ์เรื่องของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ความเป็นอยู่ และความสวยงาม” ดร.อัจฉราวรรณ กล่าว
ดร.อัจฉราวรรณ จุฑารัตน์ สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ของ บริษัท หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า Green Building คือแนวคิดอาคารที่ไม่กระทบกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของการใช้วัสดุ การก่อสร้าง ไปจนถึงการดำเนินงาน “แต่สำหรับ HARN นั้น เรียกว่า ‘Beyond Eco’ คือการคำนึงเรื่องของ “Better Workplace, Better Wellbeing” อยู่สบาย คืออยู่อย่างไรให้สุขภาพจิตดี สุขภาพใจดี สุขภาพกายดี ต้องบาลานซ์เรื่องของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ความเป็นอยู่ และความสวยงาม” ดร.อัจฉราวรรณ กล่าว
“Better Workplace, Better Wellbeing” ที่ว่าด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี กลายเป็นหัวข้อที่มีการให้ความสำคัญมากขึ้นสำหรับการอยู่อาศัยและการทำงานภายในสิ่งปลูกสร้างหรืออาคาร และมาตรฐาน DGNB นั้น มององค์รวมในทุกมิติ โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมสภาพแวดล้อมที่แตกต่างของบุคคลที่มีความต้องการต่างกัน (Personal Life Control) ซึ่งนับเป็นเทรนด์ใหม่ ที่แต่ละบุคคลหรือกลุ่มคนสามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมตามความเหมาะสม (Adjustable Personal Life) เป็นที่มาของ Responsive Design, Adaptive Design, Design for Flexibility ที่มากไปกว่าคำว่า Eco Design และกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ มีคุณภาพยิ่งขึ้น
การออกแบบอาคารสำนักงานใหม่ของ HARN พบว่า เป็นการนำแนวความคิดต่างๆ มาผสานรวมกัน อาทิ Sustainable Development Goal 11 ข้อ ของสหประชาชาติ (UN) เช่น Zero Hunger คือ การเตรียมพื้นที่ปลูกผักเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม หรือแนวคิดเรื่อง Better Workplace, Better Wellbeing” ที่สถาปนิกเลือกใช้การปลูกต้นไม้เพื่อกรองแสง กรองฝุ่น ลดอุณหภูมิอากาศจากพื้นที่โดยรอบ เรื่อยไปจนถึงการสร้างบรรยากาศ ด้วยการนำแสงธรรมชาติเข้ามาภายในอาคาร แต่ไม่นำความร้อนเข้ามาด้วย (Indirect Light) รวมถึง Skylight ที่ชั้นบนสุด ซึ่งหลังคามีลักษณะคล้ายกับฟันเลื่อยที่มีความทึบตรงส่วนที่โดนแสงแดด แล้วสะท้อนเอาแสงเข้ามาภายในอาคาร ดังนั้นแสงที่ได้รับจึงเป็น Indirect Light เป็นแสงที่นุ่ม ไม่ร้อน ประหยัดพลังงาน ทั้งในส่วนของค่าเครื่องปรับอากาศ และการใช้ไฟประดิษฐ์ หรือเรื่องของเสียง ที่ทางสถาปนิกคำนึงถึง Acoustic Feeling ทำให้อาคารเงียบ กันเสียงรบกวน เพื่อให้เกิดการโฟกัสงานได้ดี แม้แต่การนำลมธรรมชาติเข้ามาในอาคาร ซึ่งสามารถเติมอากาศบริสุทธิ์ในอาคาร ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ และอากาศจะเคลื่อนไหวตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังใช้ต้นไม้และน้ำลดอุณหภูมิ กล่าวคือ หาญมี Landscape Design ที่ใช้ต้นไม้ เป็น Shading ให้อาคาร และการใช้น้ำ ที่เวลาลมพัดผ่านน้ำ น้ำจะดูดความร้อนในอากาศ ทำให้อากาศเย็นลงก่อนเข้ามาภายในอาคาร เรียกว่า เป็นการใช้ธรรมชาติในการบูรณาการสรรสร้างอาคารให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
เรื่องของระบบแสงสว่างจากดวงไฟภายในอาคาร HARN เป็นอีกบริษัทลำดับต้นๆ ของประเทศที่ใช้ระบบ POE (Power Over Internet) คือไม่ใช้สายไฟแบบดั้งเดิม แต่ใช้สายอินเทอร์เน็ตแทน ซึ่งช่วยให้ตัวดวงไฟมีความชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็กจำนวนผู้ใช้ในพื้นที่ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าภายในอาคาร
HARN ใช้ความเชี่ยวชาญในออกแบบระบบทำความเย็น เพื่อพัฒนาระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง โดย HARN ออกแบบเครื่องทำความเย็น (Chiller) จากปกติเป็นเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่เครื่องเดียว ปรับเป็นสามเครื่องย่อยให้ทำงานประกอบกันตามภาระกรรมที่เกิดขึ้น โดยแต่ละเครื่องจะทำงานในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา นับว่าเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างตรงจุด และตอบสนองการใช้งานจริงได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เทคโนโลยีด้านอื่นๆ ยังมีบทบาทสำคัญต่อภาพลักษณ์ใหม่ของ HARN ณ อาคารสำนักงานแห่งนี้ เช่น การติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อสร้างระบบการจองห้องประชุมก็จะผ่านโทรศัพท์มือถือหรือผ่านอินเทอร์เน็ต หรือระบบ Access Control ของพนักงาน และผู้เข้ามาใช้บริการในอาคารสำนักงาน ทาง HARN ได้เลือกใช้ระบบ Face Recognition หรือการตรวจจับใบหน้า แทนระบบ Finger Print หรือแม้แต่การแสดงข้อมูลการประหยัดพลังงานของสำนักงาน ซึ่งในอนาคตสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ได้ในหลายระดับต่อไป เป็นต้น
การจัดสรรพื้นที่ภายในตัวอาคารก็สำคัญและส่งผลต่อแนวคิด ‘“Better Workplace, Better Wellbeing” เช่นกัน โดยชั้น 4-5-6 ออกแบบเป็นโถงกลางมีบันไดขึ้นลง เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมถึงกันเพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ของพนักงานในออฟฟิศ ส่งผลต่อการทำงานร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ตามมา แม้กระทั่งการจัดโซนของห้องน้ำ ห้องเก็บของ และห้องที่ไม่ต้องการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ สถาปนิกยังเลือกจัดวางไว้ที่ทิศตะวันตก ซึ่งแดดแรง อากาศร้อน เพื่อสร้างสรรค์สุขอนามัยที่ดี เรียกว่า ทุกอย่าง ทุกองค์ประกอบ ผ่านการคิดอย่างถี่ถ้วนตามความเหมาะสม การใช้งานจริง มีความสมดุลระหว่างภาพลักษณ์ความสวยงาม และการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทุกมิติ
ในส่วนของงานสถาปัตยกรรม DGNB ให้ความสำคัญกับ Life Cycle Cost คือต้องเลือกใช้วัสดุที่ทนทาน ประหยัดพลังงาน และคุ้มค่าในระยะยาว “เราจะดูที่การลงทุนระยะแรก (Initial Investment) บวกกับ ต้นทุนการดำเนินการ (Operating Cost) ในระยะเวลา 30-50 ปี ว่าเป็นเท่าไร ซึ่งไม่ได้หมายความว่า การลงทุนมีราคาถูก จะถูกเสมอไปในระยะเวลา 50 ปี” ดร.อัจฉราวรรณ อธิบาย ทั้งนี้ งานสถาปัตยกรรมยังสอดผสานกับแนวคิด “Better Workplace, Better Wellbeing” เพราะการเลือกลงทุนสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีนั้นยังส่งผลต่อพนักงานหรือผู้ใช้อาคารโดยตรงให้สามารถสร้างสรรค์งานอย่างมีความสุข มีคุณภาพ และมีประสิทธิผลยิ่งขึ้นกว่าเดิม
“อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของ HARN กระชับขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่ Space ที่ Connect ถึงกัน ความสัมพันธ์จึงกระชับขึ้น รวมไปถึง ‘เทคโนโลยี’ ที่นำมาใช้สนับสนุน และ ‘การออกแบบ’ ได้ปรับเปลี่ยนบรรยากาศให้ดีขึ้น นำมาซึ่งความ Creative, Productive และเอื้อต่อการทำงานร่วมกัน ที่สำคัญคือ การประหยัดพลังงาน นี่คือ บรรยากาศที่สมดุลระหว่างความเป็นอยู่และการประหยัดพลังงาน เป็นการบาลานซ์ที่เพอร์เฟ็กต์สำหรับ Harn” ดร.อัจฉราวรรณ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนอาคารของ HARN จะเกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง หลังจากผ่านการระดมความเห็น การมีส่วนร่วมของพนักงาน และการศึกษาข้อมูลต่างๆ จนมาสู่การเลือกสถานที่ตั้ง (Location) “เรื่องหนึ่งของ Green Building คือต้องลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของเมือง โลเคชั่นจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญที่สุด ถ้าอาคารไปอยู่ไกลจากการขนส่งสาธารณะ นั่นหมายความว่า ทุกคนต้องขับรถมา ก็จะก่อให้เกิด CO2 และ PM2.5 เต็มเมือง เราจึงต้องพิจารณาในส่วนนี้ด้วย เรื่องขนส่งสาธารณะก็ต้องศึกษาว่ามีรถเมล์กี่สาย ห่างจากรถไฟฟ้าเป็นระยะทางการเดินเท่าไร พนักงานสามารถลดการใช้รถ และใช้ขนส่งสาธารณะได้ไหม และต้องดูว่าสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ใกล้เคียงอย่างไร นอกจากรถไฟฟ้า มีโรงพยาบาล และร้านอาหาร อยู่ในรัศมีเท่าไร” ดร.อัจฉราวรรณ อธิบาย “ถ้าเราเลือกโลเคชั่นไกลๆ เช่น ชานเมือง เราจะเสียเรื่องของ Site Quality เนื่องจากว่าทุกคนต้องขับรถไป ถ้าไม่มีไฟฟ้า ก็ต้องลากสายไฟฟ้า ซึ่งนั่นคือ ต้นทุนของเมือง อาจจะต้องลากบ่อบำบัดน้ำเสีย ลากท่อน้ำดี ตรงนี้ทำให้ไม่คอมแพ็กต์ ทำให้เกิดต้นทุนต่อหัวต่อประชากรสำหรับเมืองมากเกินไป”
หากย้อนไปที่เกณฑ์การให้คะแนนของ DGNB นับว่า HARN สามารถตอบโจทย์มาตรฐาน DGNB ได้อย่างครบถ้วนทั้งห้าหัวใจสำคัญ ตั้งแต่ Process Quality, Sustainable Guide, Technical Quality, Economic Quality และ Environmental Quality ทำให้อาคารสำนักงาน HARN แห่งใหม่นี้ ได้รับรางวัลระดับ Gold พร้อมประกาศนียบัตรรับรอง จาก DGNB มาด้วยความภาคภูมิใจ
ทั้งนี้สำนักงานแห่งใหม่ของ HARN จะจัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานให้เช่าและจะเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สนใจให้เข้ามาศึกษาดูงาน นั่นหมายถึง HARN จะเป็นพื้นที่การรวมกลุ่มของคนที่มีความสนใจและมีประสบการณ์ร่วมในสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งอนาคต ทางด้านสถาปนิกจึงจัดพื้นที่รองรับเพื่อการสร้างคอมมูนิตี้และการแบ่งปัน (Sharing) ข้อมูล รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการงานระบบต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ติดตาม Harn Engineering Solutions
เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์