ห้องเย็นมีความสำคัญกับธุรกิจหลากหลายประเภท ที่ต้องการจัดเก็บสินค้า วัตถุดิบ ผลผลิต ไว้ภายในห้องที่มีความเย็นคงที่ สำหรับรักษาคุณภาพของสินค้าที่เตรียมส่งขาย โดยการใช้ห้องเย็นเพื่อลดปัญหาการเกิดแบคทีเรียและเชื้อโรคแปลกปลอมที่จะไปทำให้วัตถุดิบอย่าง อาหาร ผลผลิตต่างๆ เสื่อมสภาพหรือเน่าเสียได้อย่างรวดเร็ว
การเลือกติดตั้งห้องเย็นสำหรับธุรกิจของคุณนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกสถานที่ติดตั้งที่สะดวกต่อการลำเลียงสินค้า ง่ายต่อการเข้าถึง และการตรวจสอบสภาพการใช้งานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความนี้จะช่วยให้คุณตัดดสินใจเลือกติดตั้งห้องเย็นได้ตรงความต้องการ รวมถึงชนิด และส่วนประกอบต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึง ก่อนทำการเลือกซื้อห้องเย็น
ชนิดของห้องเย็น
ห้องเย็น เป็นห้องที่ใช้เก็บรักษาคุณภาพของวัตถุดิบไม่ให้เน่าเสีย และรักษาสภาพอาหารให้นานที่สุด ทั้งอาหาร อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารแปรรูป โดยแบ่งชนิดเป็นการแช่เย็น และการแช่เยือกแข็ง เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่จะมาทำสินค้าเน่าเสีย
ห้องเย็นมีสองชนิด ได้แก่
1.ห้องเย็นแบบแช่เย็น
ใช้ความเย็นอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดเยือกแข็ง (อุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส) เหมาะกับผักและผลไม้ ที่จะถูกเก็บไว้ในระยะเวลาสั้นๆ จึงมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับบรรยากาศโดยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส
ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม หรืออาหารทะเล จะเก็บไว้ที่อุณหภูมิใกล้เคียงจุดเยือกแข็ง และไม่สูงเกิน 15 องศาเซลเซียส
2.ห้องเย็นแบบแช่เยือกแข็ง
เป็นการรักษาสภาพวัตถุดิบให้เย็นจัดจนเยือกแข็ง เพื่อให้เก็บวัตถุดิบไว้ได้เป็นเวลานาน จะเหมาะกับอาหารประเภทที่ต้องการคุณภาพใกล้เคียงกับของสด และสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เช่น -18 องศาเซลเซียส
ส่วนประกอบหลักของห้องเย็น
ไม่ว่าระบบทำความเย็นจะถูกออกแบบเป็นระบบแบบใดก็ตาม ล้วนมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือสามารถทำความเย็นได้ตามความต้องการและมีความปลอดภัยในการใช้งานที่สุด โดยอาศัยหลักการทำงานของระบบทำความเย็นเดียวกัน
ส่วนประกอบหลักของห้องเย็นและระบบทำความเย็นประกอบด้วย
1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
คอมเพรสเซอร์สำหรับห้องเย็นเป็นแบบมีกรอบปิดมิดชิด เพื่อช่วยอัดสารทำความเย็นในรูปแบบที่เป็นไอให้มีความดันที่สูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
2. คอนเดนเซอร์แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air-cooler condenser)
เมื่อสารทำความเย็นถูกส่งมาจากคอมเพรสเซอร์แล้ว คอนเดนเซอร์จะช่วยระบายความร้อนด้วยอากาศด้วยกาศ ทำให้อากาศไหลแบบปั่นป่วนด้วยความเร็วต่ำที่สุด ช่วยให้การถ่ายเทความร้อนได้ดี โดยการทำงานนี้ช่วยให้คอนเดนเซอร์ไม่มีเสียงดังรบกวนในขณะที่ทำงาน
3. เครื่องทำลมเย็นแบบฝังแขวนฝ้าเพดาน (Ceiling unit cooler)
การทำงานของเครื่องทำลมเย็นมีลักษณะคล้ายกับคอล์ยเย็น หรืออีวาโปเรเตอร์ แต่ต่างกันที่วิธีสร้างความเย็น ซึ่งจะใช้การแลกเปลี่ยนความร้อนทำให้เกิดความเย็นหรือความชื้นในอากาศ
4. ม่านอากาศ (Cold air wind curtain)
ม่านอากาศเป็นระบบป้องกันอากาศร้อน อากาศเสีย ฝุ่นกลิ่นเหม็น แมลง และสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ห้องเย็นได้ ด้วยการทำงานของลมที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นม่านป้องกันโดยติดอยู่ที่ทางเข้าของห้องเย็น ประสิทธิภาพของม่านอากาศยังช่วยให้อากาศภายในห้องเย็นไหลเวียนได้เป็นปกติ
5. กล่องควบคุมอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic control box)
ใช้สำหรับควบคุมอุณหภูมิในห้องเย็น การตั้งเวลาเพื่อละลายน้ำแข็ง การควบคุมการทำงานของพัดลมได้อย่างอัจฉริยะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ DOD (Defrost on Demand)
6. ประตูห้องเย็น (Cold storage door)
ประตูสำหรับห้องเย็นจะมีความพิเศษกว่าประตูชนิดอื่น โดยมีโครงสร้างที่แข็งแรงทนทานต่อความร้อนจากภายนอกและความเย็นจากภายในด้วยคุณสมบัติของแผ่นฉนวนกันความร้อน นอกจากนี้ยังไม่ดูดซึมน้ำและความชื้น
5 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนมีห้องเย็น
1. เลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่
เมื่อเลือกขนาดห้องเย็นที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่ต้องการแช่แล้ว ต้องมีพื้นที่สำหรับติดตั้งห้องเย็นที่เหมาะสมกับขนาดของห้องเย็น ซึ่งควรมีพื้นที่โล่งกว้างสำหรับการติดตั้ง และการโหลดขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการแช่ต้องสะดวกสบาย
2. ความเหมาะสมของอุณหภูมิกับวัตถุดิบที่แช่เย็น
วัตถุดิบที่แช่เย็นแต่ละชนิดต้องได้รับการวางแผนอย่างดีว่าจะจัดวางไว้ตรงไหนในห้องเย็น เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและขนถ่ายออก นอกจากนี้ปริมาณของวัตถุดิบที่แช่ในห้องเย็นก็มีส่วนต่อคุณภาพของความเย็นภายในห้องเย็นได้ ถ้าหากต้องการแช่วัตถุดิบจำนวนมาก ก็ต้องมีห้องเย็นที่ขนาดใหญ่ขึ้นตาม
3. มีการระบายอากาศที่เหมาะสม
การเก็บวัตถุดิบไว้ในห้องเย็นเป็นเวลานานและมีเคลื่อนย้ายวัตถุดิบเข้าออกภายในห้องอยู่บ่อยครั้ง ทำให้อาจจะมีสิ่งแปลกปลอมหรืออากาศภายในห้องมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ห้องเย็นจึงควรมีระบบระบายอากาศภายในห้องที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณภาพของความเย็นและวัตถุดิบที่ต้องการเก็บด้วย
4. การใช้ไฟ
ห้องเย็นใช้ไฟ 380 โวลล์ หรือไฟ 3 เฟส แต่ถ้าใช้ไฟบ้านขนาด 200 โวลล์ ต้องมั่นใจว่าไฟจะไม่ตกและบ้านไม่ได้ตั้งอยู่ที่ปลายสายของสายไฟฟ้า เพราะถ้าไฟไม่พอจะส่งผลต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้านให้อายุการใช้งานสั้นลง
5. การบำรุงรักษา
การใช้งานห้องเย็นในแต่ละเดือนควรมีการตรวจสอบสภาพการใช้งานของห้องเย็นว่าทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ หรือมีส่วนใดชำรุดหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบด้วยช่างหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด
สรุป
การเลือกห้องเย็นเพื่อธุรกิจของคุณควรคำนึงถึงปัจจัยทั้งในเรื่องของสินค้า อุณหภูมิ สถานที่ รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมด้วย และการตรวจสอบอุปกรณ์ทำความเย็นในห้องเย็นก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะมีผลต่อประสิทธิภาพความเย็นของห้องเย็น เมื่อความเย็นของห้องเย็นไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ก็จะทำให้วัตถุดิบที่แช่ไว้ในห้องเย็นเสียหายได้
ถ้าคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการทำความเย็นของห้องเย็น หรือสนใจวางแผนติดตั้งห้องเย็น สามารถปรึกษาเราได้ที่นี่ เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทำความเย็นที่พร้อมจะช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่
ติดตาม Harn Engineering Solutions
เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์