ในสถานการณ์ที่ไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดอย่างหนัก การเดินทางไปซื้อข้าวของเป็นเรื่องที่ทำได้ยากกว่าปกติ หลายคนจึงหันมาตุนอาหาร ยา น้ำดื่ม และของใช้จำเป็นไว้ใช้อุปโภคบริโภคมากขึ้นกว่าเดิม แต่หลายครั้งที่มีการเก็บตุนมากจนเกินไป หรือบางทีเป็นการเก็บไว้นานเกินกว่าที่ใช้จริง ก่อนจะหยิบมากินมาใช้อย่าลืมดูฉลากกันก่อนนะ
มาดูกันว่าของที่เราเก็บไว้บอกอะไร “บนฉลาก” บ้าง
ถ้าว่ากันด้วยกฎหมายหมายแล้ว ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 เรื่องฉลากอาหาร พ.ศ.2543 ให้คำนิยามของฉลากอาหาร รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใดๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของภาชนะที่บรรจุอาหาร (รวมถึงแผ่นพับและฉลากคอขวด) โดยกำหนดให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะบรรจุ ข้อมูลที่แสดงบนฉลากอาหารนั้นสามารถจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
- ข้อมูลความปลอดภัยประกอบด้วย วันที่ผลิต/หมดอายุ วิธีการเก็บรักษา วิธีปรุง คำเตือนต่างๆ (กรณีที่กฎหมายกำหนด)
- ข้อมูลความคุ้มค่าประกอบด้วย ชื่อ/ประเภทของอาหาร ส่วนประกอบซึ่งเรียงลำดับตามปริมาณที่ใช้จากมากไปน้อย และปริมาณอาหาร (น้ำหนัก หรือปริมาตร) ในภาชนะบรรจุ
- ข้อมูลเพื่อการโฆษณาได้แก่ รูปภาพและข้อความกล่าวอ้างต่างๆ
- ข้อมูลเพื่อแสดงความเชื่อมั่นได้แก่ ยี่ห้ออาหาร ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า เครื่องหมาย อย. (กรณีที่กฎหมายกำหนด) และตราสัญลักษณ์ต่างๆ
ในเรื่องความปลอดภัยบนฉลากต้องมีอะไร บ้างลองหยิบอาหารที่บ้านมาลองเช็คกันว่ามีครบไหม
ถ้าบนฉลากบอกว่าอาหารหมดอายุแล้ว ยังทานได้ไหม
เมื่อหยิบอาหารขึ้นมาดูบนฉลากบอกว่าควรบริโภคก่อน (Best Before: BBE) และ หมดอายุ (Expire: EXP) ในวันที่เราอ่านฉลาก จะยังทานได้ไหม แล้วมีการกำหนดจากอะไร
- อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน
- อาหารที่เก็บได้เกิน 90 วัน ให้แสดงเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน
- อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้แสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์
ฉะนั้น ถ้าในวันที่อ่านฉลากนั้นมีวันที่ตรงกับบนฉลากที่เขียนว่า…
- ควรบริโภคก่อน(BBE) นั่นแสดงว่าอาหารจะมีรสชาติดี ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามที่ระบุไว้บนฉลาก แต่เมื่อผ่านวันที่ระบุไว้แล้ว รสชาติ คุณภาพและคุณค่าทางอาหารจะลดลง แต่จะไม่มีปัญหาในเชิงความปลอดภัย จึงยังบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย เป็นการกำหนดวันล่วงหน้าไว้ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้นจะหมดอายุหรือเสีย
- “วันหมดอายุ” (EXP) แสดงว่าอาหารนั้นหมดอายุ ไม่ควรบริโภคแล้ว มีผลต่อความปลอดภัย
ด้วยความปรารถนาดีจาก บริษัท หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เครื่องพิมพ์ฉลาก ระบบการพิมพ์ดิจิทัล
ที่มาของข้อมูล กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ติดตาม Harn Engineering Solutions
เรามีบทความดีๆ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์