HARN เปิดตัว “TelePrint” รองรับเทคโนโลยี IoT

20 สิงหาคม 2017

“หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องมาตลอดกว่า 50 ปี โดยควบรวมกิจการ 3 บริษัทเข้าด้วยกัน คือ บริษัท ไฟร์วิคเตอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ชิลแมทซ์ จำกัด และบริษัท คิว ทู เอส จำกัด ในปีที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายได้ถึง 1,200 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2560 นี้จะมียอดขายเติบโต 10% ตามแผน”

คุณธรรมนูญ ตรีเพ็ชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เล่าถึงที่มาและภาพรวมธุรกิจของบริษัทฯ สำหรับ 3 ธุรกิจที่ได้รวมเข้าด้วยกันประกอบด้วย

1. สายธุรกิจระบบดับเพลิงและความปลอดภัย ระบบปรับอากาศ ระบบสุขาภิบาล

2. สายธุรกิจระบบทำความเย็น

3. สายธุรกิจระบบการพิมพ์ดิจิทัล

ซึ่งในสายธุรกิจระบบการพิมพ์ดิจิทัล แบ่งเป็นอีก 3 กลุ่ม คือ

– กลุ่มเครื่องและอุปกรณ์การพิมพ์วันที่ผลิต วันหมดอายุ และล็อตนัมเบอร์

– กลุ่มเครื่องพิมพ์ UV Digital Inkjet สำหรับงานพิมพ์ข้อมูลแปรผัน (Variable Data Printing)

– กลุ่มเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ให้บริการแบบโซลูชั่นส์โดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก

ด้านการบริการ และการดูแลลูกค้า คุณธรรมนูญเปิดเผยว่า “เราเป็นผู้ให้บริหารโซลูชั่นส์สำหรับอุตสาหกรรมบนพื้นฐานของดิจิทัลเทคโนโลยี มีความหลากหลายในตัวสินค้าและเทคโนโลยีให้ลูกค้าพิจารณา โดยทีมงานจะเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยพิจารณาว่าแต่ละเทคโนโลยีมีจุดอ่อนจุดแข็งอะไร อย่างไรบ้าง รวมถึงการลงทุนค่าเครื่อง ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน และการบำรุงรักษามีความยากง่ายแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เครื่องจักรแต่ละเครื่องที่ลุกค้าตัดสินใจลงทุน จะถูกใช้งานอย่างคุ้มค่า (Life Time Cost) และที่สำคัญคือ จะต้องลดค่าใช้จ่ายด้านคนและเวลาในการ Operate เครื่อง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน โดยมุ่งเน้นถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก จากนั้นทีมงานจะทำสรุปเปรียบเทียบเทคโนโลยีที่เหมาะสม และนำเสนอเพื่อให้ลุกค้าตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ผ่านการทำงานร่วมกัน

เราลงทุนเรื่องบุคคลากรทั้งทีมขาย ทีมบริการ มีการวางแผนกำลังคนอยู่ตลอด โดยใช้อัตราส่วนทีมขายต่อจำนวนลูกค้า และทีมบริการต่อจำนวนเครื่องเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ เพื่อลุกค้าจะได้รับการดูแลและเอาใจใส่เป็นอย่างดี”

TelePrint แอพพลิเคชั่นเพื่อดิจิทัลเทคโนโลยีในอนาคต

“สำหรับการดำเนินธุรกิจในอนาคต สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ เทคโนโยลีดิจิทัล เครื่องและอุปกรณ์ที่บริษัทจำหน่ายต้องรองรับการสื่อสารกับ ERP หรือกับระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ภายนอกได้

นอกจากนี้ เราได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมา เรียกว่า TelePrint (Anytime, Anywhere และ Anyone) หมายถึง แอพพลิเคชั่นที่สามารถสื่อสารกับเครื่องและอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับลูกค้าได้โดยสามารถเห็นสถานะจากศูนย์บริการของบริษัท ส่วนลูกค้าจะมีแอพพลิเคชั่นที่แสดงสถานะบนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มือถือ แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค ว่าเครื่องที่ติดตั้งใช้งานอยู่ภายในโรงงานมีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร มีข้อความแจ้งเตือนอะไรบ้างหรือไม่ วัสดุสิ้นเปลืองจะต้องเปลี่ยนในอีกกี่ชั่วโมงข้างหน้า เป็นต้น

ในส่วนของทีมบริการก็จะเห็นข้อมูลจากแพลตฟอร์มเดียวกัน ลูกค้า บริษัท และพนักงานบริการ รับรู้ข้อมูลพร้อมกันและเหมือนกัน ก่อให้เกิดความรวดเร็วและความชัดเจนของข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี loT หรือดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ” คุณธรรมนูญ กล่าวเพิ่มเติม

ที่มาจาก : Asia-Pacific PLAS & PACK (Vol.11 Page 24-27)